บทที่ 6 การโฆษณา (Advertising)

การโฆษณา (Advertising)

โดย ปิยภา แดงเดช รหัส 57561147 เลขที่ 22 ส่ง ผศ.ดร. วิชิต อู้อ้น

ความหมาย

การโฆษณา (Advertising) เป็นกิจกรรมในการเสนอข่าวสารเกี่ยวกับองค์การและ(หรือ) ผลิตภัณฑ์ บริการ หรือความคิด ที่ต้องมีการจ่ายเงินโดยผู้อุปถัมภ์รายการ (เบลช์. 2001 : GL)กลยุทธ์ในการโฆษณาจะเกี่ยวข้องกับ

“โฆษณา” หมายถึง รูปแบบการใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร โดยไม่ใช้บุคคลเกี่ยวกับองค์การผลิตภัณฑ์ บริการ หรือความคิดโดยผู้อุปถัมภ์ ที่ระบุชื่อ ความหมายนี้ยังเป็นความหมาย ของสมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา (The American Marketing Association หรือ AMA) ได้บัญญัติไว้ จะเห็นว่าลักษณะของการโฆษณามีดังต่อไปนี้

A.R. Oxenfeldt and C. Swan กล่าวว่า “การโฆษณาเป็นการสื่อสารโน้มน้าวใจจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อ โดยมิ ได้เป็นไปในรูปส่วนตัว”
Maurice I. Mandell ให้คำจำกัดความว่า “การโฆษณา หมายถึง รูปแบบการส่งเสริมการขายผ่านสื่อโฆษณา ที่มิใช่บุคคล และต้องชำระ เงินโฆษณาโดยผู้อุปถัมภ์ ซึ่งการโฆษณานี้มีความหมายแตกต่างไปจากการส่งเสริม การขายรูปแบบอื่น ๆ เช่น การขายโดยพนักงาน และการ ส่งเสริมการจำหน่าย เป็นต้น”

S.W. William Pattis กล่าวว่า “การโฆษณา หมายถึง การสื่อสารในรูปแบบใด ๆ ซึ่งเจตนาที่จะกระตุ้นผู้ที่มี ศักยภาพในการซื้อและการ ส่งเสริมในด้านการจำหน่ายสินค้าและบริการ รวมถึงการสร้างประชามติ การกระทำการ เพื่อก่อให้เกิดการสนับสนุนทางการเมือง การขาย ความคิดหรือการเสนอความคิดเห็น หรือสาเหตุต่างๆ และการ กระทำ เพื่อให้ประชาชนเห็นคล้อยตาม หรือปฏิบัติไปในทางที่ผู้โฆษณาประสงค์”

ดร.เสรี วงษ์มณฑา ได้ให้ความหมายไว้ว่า การโฆษณา คือ กิจกรรมสื่อสารมวลชนที่เกิดขึ้น เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภค มีพฤติกรรมอันเอื้อ อำนวยต่อความเจริญของธุรกิจ การขายสินค้าหรือบริการ โดยอาศัยจากเหตุผล ซึ่งมีทั้งกลยุทธ์ จริงและเหตุผลสมมติ ผ่านทางสื่อโฆษณาที่ต้อง รักษาเวลาและเนื้อที่ ที่มีการระบุบอกผู้โฆษณาอย่างชัดแจ้ง

องค์ประกอบของการโฆษณา

1.ผู้โฆษณา (Advertiser) ได้แก่ เจ้าของสินค้า เจ้าของกิจการบริการ เจ้าของตราสินค้า หน่วยงานราชการ องค์กรอิสระหรือมูลนิธิต่างๆ

  1. บริษัทตัวแทนโฆษณา (Advertising Agency) คือ บริษัทซึ่งได้รับการว่าจ้างจากผู้โฆษณา ให้ทำการสร้างสรรค์และผลิตชิ้นงานโฆษณาต่างๆ รวมถึงจัดซื้อสื่อเพื่อการโฆษณา
  2. สื่อโฆษณา(Medias) คือ สื่อกลางหรือช่องทางการสื่อสารที่โฆษณาอาศัยเพื่อส่งผ่านไปยังผู้บริโภคเช่น สื่อโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง สิ่งพิมพ์ ป้าย ฯลฯ ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทเจ้าของสื่อในรูปแบบต่างๆ
  3. ผู้บริโภค(Consumer) คือ ผู้ซื้อสินค้า หรือ ผู้ใช้บริการ ซึ่งจะเลือกซื้อสินค้าหรือใช้บริการตามความต้องการและพึงพอใจของตน โดยอาศัยการรับรู้ข้อมูลของสินค้าหรือบริการจากโฆษณาเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจ

การนำทฤษฎีไปประยุกต์ใช้

การสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ที่กระตุ้นผู้ที่มีศักยภาพในการซื้อและการส่งเสริมในด้านการจำหน่ายสินค้าและบริการซึ่งมีทั้งกลยุทธ์ จริงและเหตุผลสมมติ ส่งผลให้ผู้ซื้อ หรือ ผู้ใช้บริการ เลือกซื้อสินค้าหรือใช้บริการตามความต้องการและพึงพอใจ

 

แหล่งที่มาของข้อมูล

การสรุปการบรรยายของนักศึกษา D.B.A.06 มหาวิทยาลัยศรีปทุม เอกสารสืบค้น และเอกสารประกอบการเรียนการสอน

 

ใส่ความเห็น